Tuesday, 14 May 2024
กัญชาเพื่อการแพทย์

ศิริภา ซัด!! หลังใช้ "กัญชาเสรี" ต่อเนื่อง ทำเยาวชน IQ ลด จี้ให้พรรคการเมืองทบทวนนโยบาย

9 ธ.ค.2565 นางสาวศิริภา อินทวิเชียร รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์มีความชัดเจนต่อจุดยืนการสนับสนุนกัญชาเพื่อการแพทย์ และเศรษฐกิจเพื่อการแพทย์ แต่ไม่สนับสนุนการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการและกัญชาเสรีมาโดยตลอด ในวันนี้เราเห็นทั้ง บาร์ และคาเฟ่กัญชาให้บริการ ผลิตภัณฑ์กัญชาและช่อดอกกัญชา เพื่อใช้สูบและเสพกันทั่วประเทศ แม้จะมี ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 ฉบับลงวันที่ 11 พ.ย. 2565 ที่กำหนดให้มีผลบังคับใช้นับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2565 แล้วก็ตาม แต่เยาวชนของเราก็ยังสามารถเข้าถึงช่อดอกกัญชาในท้องตลาด ส่งผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการระยะยาวของเยาวชนอยู่

'พิมพ์รพี' ย้ำจุดยืน! ปกป้องเยาวชน-กลุ่มเปราะบาง สนับสนุนกัญชาเพื่อการแพทย์ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี

วันที่ 14 ธ.ค.65 ดร.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายถึงการ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กัญชา กัญชง (ฉบับที่...) พ.ศ.... ว่า จากการลงพื้นที่ที่ดูแลอยู่ทั้ง อ.คลองท่อม อ.ลำทับ และ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ มีประชาชนที่นับถือทั้งศาสนาพุทธและมุสลิม กว่า 30 แห่ง ทั้งมัสยิด โรงเรียน โรงพยาบาล ร้านอาหาร ทุกคนมีปัญหาอยู่ 2 ประการ ความกังวลทางด้านเศรษฐกิจที่มีลต่อชีวิตตัวเอง และ ความกังวลต่อสิ่งเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งเสพติดที่มีผลต่อเยาวชน สตรีมีครรภ์ และผู้เปราะบาง ตนไม่เห็นด้วยที่ตัดคำว่าบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปี และกลุ่มบุคคลเสี่ยงอื่นออกไป ซึ่งอาจจะให้ความหมายได้ว่า เป็นการครอบคลุมถึงทุกคนแต่ประชาชนทุกคนไม่ได้เกิดมาเท่าเทียมกัน จึงอาจจะต้องเพิ่มเติมคำว่า เช่น เยาวชน เพื่อให้เยาวชนได้รับการปกป้องจากกัญชา

โดยหากอ้างอิงข้อมูล จากแถลงการณ์จุดยืนราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์จุดยืนปกป้องเยาวชนจากกัญชา 5 ข้อ คือ

1.) เด็กที่อายุน้อยกว่า 20 ปีไม่ควรเข้าถึงและบริโภคกัญชา เนื่องจากสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่
2.) ให้มีการประชาสัมพันธ์กับประชาชนเรื่องโทษของการใช้กัญชากับสมองเด็ก
3.) ให้มีมาตรการ ควบคุม การผลิต และขายอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาผสม
4.) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ควบคุมไม่ให้มีการจงใจออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม
5.) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการ ติดตามผลกระทบของกัญชาต่อเด็กอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

กรมการแพทย์แผนไทยฯ จับมือ อบจ. เร่งพัฒนาระบบบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระดับปฐมภูมิ เน้นใช้สมุนไพร กัญชา-กัญชง ทางการแพทย์แบบบูรณาการ ปี 66 เดินหน้า รพ.สต.กว่า 2,000 แห่ง ทั่วประเทศ

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จับมือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด พัฒนาระบบบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระดับปฐมภูมิ เพื่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล หรือ รพ.สต. ทั่วประเทศกว่า 2,000 แห่ง ใช้สมุนไพร กัญชา และกัญชง เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลผู้ป่วย และประชาชน ในชุมชนให้มีสุขภาพดี ตามนโยบายการแพทย์แบบบูรณาการ ปี 2566

วันนี้ 14 ธันวาคม 2565 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพองค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้านการแพทย์แผนไทยการแพทย์ทางเลือกและการใช้สมุนไพรทางการแพทย์แบบบูรณาการ โดยมี นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี และนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย ผู้บริหาร บุคลากรกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ ได้ร่วมจัดงานในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริหาร บุคลากรด้านสาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสามารถใช้กัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร บุคลากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 49 จังหวัด ที่ได้รับการถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และบุคลากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 76 จังหวัด จำนวน 500 คน โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบาย มุ่งกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ได้ออกประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน และให้สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และ รพ.สต. สามารถตอบสนอง ความต้องการทางด้านสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง

ซึ่งข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และ รพ.สต. รวมแล้ว 3,263 แห่ง จากจำนวนทั้งสิ้น 9,787 แห่งทั่วประเทศ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดทิศทางการให้บริการภายใต้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างหลักประกันความต่อเนื่องของบริการ รวมถึงพัฒนาคุณภาพของการบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ ที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่อย่างแท้จริง


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Klang Time Thailand
Take Me Top