Wednesday, 1 May 2024
เพชรบุรี

ยุทธพล แนะกรมปศุสัตว์ โฟกัสปัญหาสุนัขจรจัด ขอบคุณที่สนใจปัญหาลิงแสม แจง หน้าที่กรมอุทยานฯ แก้เป็นขั้นตอนดีอยู่แล้ว

3 พฤศจิกายน 2565 นายยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตอบคำถามผู้สื่อข่าว ถึงกรณีที่นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอให้กรมปศุสัตว์ จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาลิงแสม ในพื้นที่เพชรบุรี เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา 
.
นายยุทธพล เผยว่า ลิง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ดังนั้นจึงอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรง ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ซึ่งที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2562-2565 ได้ทำหมันและตรวจสุขภาพ เฝ้าระวังโรคลิง ไปแล้วทั้งหมด 25,000 ตัว ทั่วประเทศ จากทั้งหมด 50,000 ตัว เป็นลิงในพื้นที่ จ.เพชรบุรี 3,502 ตัว อยู่ในฝูงเขาวัง 563 ตัว และในปีงบประมาณ 2566 ก็ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อทำหมันเพิ่มอีก 1,600 ตัว ไว้เรียบร้อยแล้ว 

สั่งเด้ง!! หน.สายตรวจป่าไม้ยางชุม สังเวยไม่อายัดของกลาง คดีนายทุนรุกป่าสงวน

(22 ธ.ค.65) คดีจับกุมนายทุนรุก "ป่าเขาถ้ำเสือ-ป่าเขาโป่งแย้" จ.เพชรบุรี ขุดดินลูกรังไปขาย จับผู้กระทำความผิดได้ 1 คน พบพิรุธ มีการจับกุมการกระทำความผิด แต่ไม่บันทึกอายัดของกลางในการดำเนินคดี จนถูกรายงานว่า มีการแอบปล่อยให้นำเครื่องจักรออกไป ล่าสุดมีคำสั่งย้ายด่วน หน.ชุดสายตรวจป่าไม้ยางชุม ภายใน 24 ชั่วโมง ให้ขาดจากตำแหน่งเดิมแล้ว พร้อมตั้ง คกก.สอบเช็กบิลตามหลัง

จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้เพชรบุรี นำโดย นายทองยศ แซ่เอี้ยว หัวหน้าชุดสายตรวจป่าไม้ยางชุม ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกันตรวจยึดพื้นที่ป่าถูกบุกรุกขุดตักดินลูกรัง เนื้อที่ 0-1-52 ไร่ ได้ตัวผู้ต้องหากระทำความผิดเป็นชาย 1 คน เหตุเกิดในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านหนองตาฉาว ต.เขากระปุก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาถ้ำเสือ และป่าเขาโป่งแย้ พิกัดที่ 47 P 583031 N 1403080 E จึงได้จัดทำบันทึกตรวจยึด/จับกุมส่งพนักงานสอบสวน สภ.ท่าไม้รวก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ตามปจว.ข้อ 6 ลว. 20 ธันวาคม 2565 เวลา 18.42 คดีอาญาที่ 296/2565 แต่มีพิรุธไม่มีการตรวจอายัดรถแบ็กโฮและรถบรรทุกดินเป็นของกลาง

“อลงกรณ์” เปิดแผนพัฒนาโคพื้นเมืองพร้อมเปิดแข่ง ”วัวลาน” เพชรบุรีสนามแรกรับปีใหม่

เร่งตั้งสมาคมกีฬาวัวลาน เล็งสร้างสนามแข่งวัวลานมาตรฐาน จัดแข่งตลอดปี ดึงนักท่องเที่ยวไทย-เทศ เที่ยวชมกีฬาประเพณีแห่งเดียวของโลก ตั้งเป้าเพิ่มรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2566 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยเกี่ยวกับ แผนการพัฒนาโคพื้นเมืองและกีฬาวัวลานสำหรับปี 2566 ว่า ภายหลังจากการจัดประชุมรวมพลคนปศุสัตว์ หารือระหว่างกรมปศุสัตว์ จังหวัดเพชรบุรี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและกลุ่มผู้เลี้ยงโคพื้นเมืองและวัวลานในจังหวัดเพชรบุรีครั้งที่ 1 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพื่อรับฟังปัญหาและร่วมวางแนวทางการพัฒนาโคพื้นเมือง และการแข่งขันวัวลานกีฬาประเพณีพื้นบ้าน

ในปีนี้ กรมปศุสัตว์โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี มีแผนดำเนินการพัฒนาโคพื้นเมืองและวัวลานภาคตะวันตกอย่างเป็นระบบครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนาสายพันธุ์ การพัฒนาฟาร์ม การป้องกันโรค การยกระดับปศุสัตว์แปลงใหญ่ การอนุรักษ์พันธุ์โคพื้นเมือง การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งเป็นอัตตลักษณ์ของเพชรบุรี การส่งเสริมประเพณีการประกวดวัวสวยงาม วัวเทียมเกวียนและการแข่งขันวัวลาน การพัฒนาตลาดเพื่อยกระดับราคา

ทั้งนี้ จะจดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาวัวลาน พร้อมกับสร้างสนามกีฬาแข่งวัวลานที่เป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับสนามม้าแข่งในประเทศไทยและในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีระเบียบและกฎหมายรองรับ และจะเปิดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เข้าชมวัวลานกีฬาประเพณีวิถีไทยในรูปแบบเกษตรท่องเที่ยว เป็นการสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงให้กับวัวลานเพชรบุรี ซึ่งถือเป็นต้นตำรับประเพณีการแข่งวัวลานในประเทศไทย รวมทั้ง การส่งเสริมวัวเทียมเกวียน การประกวดพันธ์ุวัวและวัวสวยงาม โดยมีศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดเพชรบุรี (ศูนย์AIC มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี) และหน่วยงานเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนส่งเสริมด้านการวิจัยพัฒนาและต่อยอด

'อลงกรณ์' คิกออฟงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ที่จังหวัดเพชรบุรี (Field Day) ปี2566

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2566 ณ ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลหนองจอก หมู่ที่ 2 ตำบลหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยมีนางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีกล่าวรายงานต้อนรับ โดยมีผู้เข้าร่วมงานอาทิ นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ, นางสาวศิริวรรณ เครือเล็ก เกษตรและสหกรณ์จังหวัด, นายบรรพต มามาก ประธานศพก.เพชรบุรี, หัวหน้าส่วนราชการ, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, เกษตรกร, ยุวเกษตรกร

ซึ่งการจัดงานในวันนี้ จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้ และให้บริการแก่เกษตรกรในชุมชน ให้เกษตรกรได้รับความรู้ เข้าถึงปัจจัยการผลิต ลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ และให้เกิดความเข้มแข็งของเกษตรกร

สำหรับการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2566 นี้ พืชหลัก คือ ข้าว โดยการจัดงานในวันนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จากทุกอำเภอในจังหวัดเพชรบุรี มาร่วมเรียนรู้ด้วย ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้จะแบ่งสถานีถ่ายทอดความรู้ ออกเป็น 4 สถานี ประกอบด้วย

- สถานีเรียนรู้ที่ 1 การปรับปรุงบำรุงดิน (ทำดินให้เป็นดาว)

- สถานีเรียนรู้ที่ 2 คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว (ปริญญาข้าว)

- สถานีเรียนรู้ที่ 3 การควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (ป้องกันอย่างยั่งยืน)

- สถานีเรียนรู้ที่ 4 การสร้างมูลค่าเพิ่ม (ทุกอณูมีค่า)

นอกจากนี้ จะมีการนำเสนอองค์ความรู้ และบริการการเกษตรอื่น ๆ ให้เกษตรกรจากหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และกลุ่มเกษตรกรด้วย

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีมีเป้าหมายสำคัญ 2 ระดับ คือ 1.) การทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่ และ 2.) การทำให้กลุ่มเป้าหมายนำข้อมูลไปใช้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับความรู้ที่ได้รับ

ชมพู่เมืองเพชร หวาน ฉ่ำ กรอบ! ประยุกต์สารพัดเมนู สร้างรายได้

(13 ม.ค. 66) ภารกิจตามโครงการ "ฟอร์ดแกร่งทุกงานเกษตร" เดินทางไปชมชมพู่เมืองเพชร หรือชมพู่เพชรสายรุ้ง สินค้าจีไอคู่บ้านคู่เมือง จังหวัดเพชรบุรี ปลูกกันแทบทุกหลังคาเรือน ว่ากันว่าปลูกแค่ 4 ต้น สามารถส่งลูกเรียนจนจบปริญญาได้ ด้วยมีราคาค่อนข้างสูง กก.ละ 300-400 บาท แต่ต้องแลกกับต้นทุนที่สูงจากการห่อผลกันแมลง และค้างไม้ไผ่รอบต้น ที่ต้องมีไว้เพื่อการปีนห่อและเก็บผลผลิต จนกลายเป็นอัตลักษณ์หนึ่งเดียวที่ไม่เห็นในไม้ผลชนิดอื่น

“ชมพู่เมืองเพชร สร้างรายได้ดีให้กับชาวบ้าน 1 ต้น เก็บผลผลิตได้ 3-4 ครั้ง เฉลี่ยทำเงินเข้ากระเป๋าเกษตรกรได้ต้นละประมาณ 120,000 บาท รวมถึงสร้างอาชีพใหม่ ๆ เช่น รับจ้างทำค้าง และเก็บผลผลิต ให้กับชาวบ้านปีละนับแสนบาท ซึ่งแต่ละครั้งถ้าอยากได้เกรดพรีเมียมก็ต้องจองกันก่อน เพราะมีผลผลิตส่วนหนึ่งส่งออกไปสิงคโปร์ แต่ปัจจุบันพบปัญหาใหญ่ 2 เรื่อง คือพื้นที่ปลูกลดลงทุกวัน เหลือเกษตรกรปลูกแค่ 152 ราย พื้นที่รวมเหลือเพียง 121 ไร่ เท่ากับเหลือพื้นที่ปลูกเฉลี่ยแค่คนละไม่ถึงไร่ เนื่องจากคนรุ่นใหม่กำลังลืมเลือนสิ่งที่ถูกหล่อหลอมจนกลายเป็นวัฒนธรรม อีกประการคือขาดการแปรรูป รวมถึงเอาลูกที่คัดทิ้งมาใช้ประโยชน์ จึงเป็นการบ้านใหญ่ของพวกเราชาวเมืองเพชร”

นายยุทธนา เมืองเล็ก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี บอกถึงปัญหาของชมพู่เมืองเพชร ที่กำลังสั่งสมเพิ่มขึ้นทุกวัน เรื่องของพื้นที่ปลูกที่ลดลง คงทำอะไรไม่ได้มาก นอกจากรณรงค์ให้ชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์ ขณะที่เยาวชนก็รณรงค์ให้รักถิ่นฐาน วัฒนธรรม เพราะชมพู่เมืองเพชรเป็นแหล่งสร้างเงินให้กับทั้งเกษตรกร ชาวบ้าน และเยาวชนที่รับจ้างเก็บผล ขณะที่แรงงานทำค้าง ก็ต้องเป็นแรงงานที่ชำนาญในระดับหนึ่ง เพราะเป็นงานค่อนข้างละเอียด

'อลงกรณ์' คิกออฟโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย ครั้งแรกที่เพชรบุรี ระดมทีมปศุสัตว์ทำหมันสุนัข-แมว พร้อมฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประชาชนแห่มาใช้บริการเกินเป้า

วันนี้ (23 ม.ค. 2566) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี สำนักงานปศุสัตว์เขต 7 ด่านกักกันสัตว์เพชรบุรีและตนคิกออฟโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยเป็นครั้งแรกของปี 2566 ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Klang Time Thailand
Take Me Top