Tuesday, 14 May 2024
กรุงเทพ

กทม.พร้อมรับนักท่องเที่ยว แนะ ทำประกันสุขภาพระยะสั้นก่อนเข้าไทย

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยมาตรการดูแลสุขภาพนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่จะเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย หลังประชุมศูนย์เฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพกรุงเทพมหานคร หรือ Bangkok Health Emergency Operations Center (ศฉส.กทม. : BHEOC) ครั้งที่ 1/2566 ว่า จากการติดตามสถานการณ์ จาก ศฉส.กทม. ที่จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 จะเห็นว่าตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศลดลงต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสีเขียว แสดงว่าภูมิคุ้มกันของประชาชนดีขึ้น ค่อนข้างแข็งแรง หากแต่ยังเป็นห่วงกลุ่ม 608 และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งปัจจุบัน กทม.ยึดหลัก 4-4 คือ ประชาชนจะต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 4 เข็ม หรือหากครบแล้วแต่เกิน 4 เดือน ให้มารับเข็มกระตุ้น

ด้าน นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์เตียง ว่า กทม.ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข เตรียมเตียงมากกว่า 10,000 เตียง แต่อาการเจ็บป่วยที่ต้องใช้เตียงถือว่าน้อยมาก ไม่ถึง 5 % ส่วนใหญ่เป็นลักษณะการเจ็บป่วยแบบผู้ป่วยนอก มีอาการเล็กน้อย ดังนั้น เรื่องเตียง กทม.มีความพร้อมและสามารถรองรับได้แน่นอน ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มสีเขียว จะมีแนวทางการรักษาแบบผู้ป่วยนอกเช่นกัน โดยถ้าพบนักท่องเที่ยวติดเชื้อจะให้กักตัวในโรงแรม ขอความร่วมมือให้ใส่หน้ากากอนามัย ไม่ไปที่ชุมชน ลักษณะเดียวกับ Hotel Isolation อย่างเช่นที่ผ่านมา

สำหรับมาตรการในส่วนของ กทม. รศ.ดร.ทวิดา ระบุว่า กทม.จะจัดฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้แก่ผู้ให้บริการภาคส่วนการท่องเที่ยว ทั้งผู้ขับรถสาธารณะ ภัตตาคาร ร้านอาหาร และจะทำให้โรงแรม สถานประกอบการ สถานที่ท่องเที่ยว รักษามาตรฐาน Covid Free Setting SHA และ SHA+โดยให้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ลงไปตรวจสอบผู้ประกอบการ ร้านอาหารต่าง ๆ ให้เตรียมพร้อมที่ดีขึ้น มีสุขอนามัยที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นการยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศให้เป็น Safety Tourism หรือ Trusted Tourism เพื่อฟื้นเศรษฐกิจเมืองได้อย่างรวดเร็ว

'ตร.' รวบอดีตหนุ่มธนาคาร ปลอมแปลงเอกสาร แอบใช้ข้อมูลส่วนตัวลูกค้า ขอสินเชื่อบัตรเครดิต กดเงินสดเอาไปใช้จ่ายส่วนตัว

วันที่ 12 ม.ค. 2566 พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ.สั่งการ พ.ต.อ.ภาดล จันทร์ดอน ผกก.5 บก.ปอศ., พ.ต.ต.วรวุฒิ คงรักษา สว.กก.5 บก.ปอศ. นำกำลังจับกุม นายณัฐพล (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 30 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 634/2565 ลงวันที่ 4 เม.ย. 2565 ข้อหา “เอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย, ปลอมและใช้เอกสารปลอม, ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ และลักทรัพย์ผู้อื่น” ได้ที่หน้าตลาดสดคลองเตย ถนนพระราม 4 แขวงและเขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพฯ

จากการจับกุม เมื่อปี 2564 เจ้าหน้าที่ได้รับการร้องเรียนจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ว่ามีบุคคลนำเอกสารข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น มายื่นสมัครขอสินเชื่อบัตรเครดิต ก่อนนำไปกดเงินสด จำนวน 38 ครั้ง ทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย 494,300 บาท จึงทำการสืบสวนสอบสวนจนทราบว่าผู้ก่อเหตุดังกล่าว คือนายณัฐพล ผู้ต้องหารายนี้ จึงรวบรวมพยานหลักฐานขอศาลออกหมายจับ ก่อนเข้าจับกุมดังกล่าว

เตือนคนกรุง!! เช็กพื้นที่เฝ้าระวัง รับมือฝุ่น PM 2.5 ช่วง 16-17 ม.ค.66

อัปเดตค่าฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ช่วงเช้าไม่พบเกินเกณฑ์ค่ามาตรฐาน พร้อมเตือนเฝ้าระวังช่วงวันที่ 16-17 ม.ค.66

วันที่ 16 มกราคม 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ตรวจวัดได้ 18-46 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าไม่เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศดี

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

ตั้งแต่ช่วงวันที่ 14 - 20 มกราคม 2566 คาดว่าอัตราการระบายอ่อน/ไม่ดี (น้อยกว่า 2,000-4,000 m2/s) (ยกเว้นวันที่ 18 มกราคม 2566) และอากาศปิดใกล้บริเวณผิวพื้น ส่งผลให้การสะสมของฝุ่นละออง PM 2.5 ยังทรงตัว และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า

คนกรุงต้องระวัง!! เช้านี้ ฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐาน 5 พื้นที่

วันที่ 18 มกราคม 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ณ เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ตรวจวัดได้ 28-62 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 5 พื้นที่ คือ

1.) เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.

2.) เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.

3.) สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

4.) เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

5.) เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศปานกลาง ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

ตั้งแต่ช่วง 18 - 24 มกราคม 2566 คาดว่าอัตราการระบายอ่อน/ไม่ดี (น้อยกว่า 2,000-4,000 m2/s) (ยกเว้นวันที่ 24) และอากาศปิดใกล้บริเวณผิวพื้น ส่งผลให้การสะสมของฝุ่นละออง PM 2.5 ยังทรงตัว และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส

สวทช. ยุค 6.0 ปักธงนำพลังวิจัย รับใช้สังคม พัฒนาประเทศมีคุณค่า

สวทช. ยุค 6.0 จ่อนำพลังวิจัย รับใช้สังคม ปรับกระบวนทัพสร้าง ขุมพลังหลักด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศให้มีคุณภาพชีวิต รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชาติให้ก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง รวมถึงการสร้างกลยุทธ์ NSTDA Core Business นำพลังวิจัย รับใช้สังคม

วันที่ 18 ม.ค. 2566 ที่ สวทช. อาคารโยธี ถนนพระรามที่ 6 จังหวัดกรุงเทพมหานคร ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แถลงข่าวเปิดนโยบายทิศทางการบริหาร 'สวทช. ยุค 6.0' โดยตั้งเป้าขับเคลื่อน สวทช. เป็นดั่ง 'ขุมพลังหลักด้านการวิจัย' ในการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมผนึกกำลังหน่วยงานพันธมิตรพัฒนา 'ระบบนิเวศวิจัยและนวัตกรรม' ให้เข้มแข็ง เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้งานจริง ตอบโจทย์สำคัญของชาติ สร้างผลกระทบต่อประชาชนและสังคมหมู่มาก นำพาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน

ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. เป็นหน่วยงานการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศที่ก่อตั้งมากว่า 30 ปี ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นิคมวิจัยที่มีความสำคัญและขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีบุคลากรที่เป็นนักวิจัยระดับปริญญาเอกมากกว่า 700 คน ถือว่ามากที่สุดในประเทศ และมีความเชี่ยวชาญครอบคลุม 5 สาขาวิจัยหลัก ที่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ ได้แก่

1.) วิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยี

2.) เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม

3.) เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ

4.) นาโนศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี

5.) เทคโนโลยีพลังงาน

“นอกจากในด้านกำลังคน สวทช. ยังมีเครื่องมือ และโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีระดับสูงทั้งในด้านการวิจัยและคุณภาพ รวมถึงเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่พร้อมรองรับการขยายผลงานวิจัยไปสู่การใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์ เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางนิเวศนวัตกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร และพร้อมเป็นฐานสู่การสร้างงานวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Research) ที่มีคุณภาพเทียบเท่าระดับนานาชาติ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” ผอ.สวทช.กล่าว

ขมุกขมัวทั่วเมือง!! คนกรุงกระอัก ค่าฝุ่น PM 2.5 เช้าวันนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น พุ่งเกินมาตรฐาน จำนวน 59 พื้นที่

(กรุงเทพฯ) วันที่ 24 มกราคม 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ตรวจวัดได้ 41-81 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 59 พื้นที่ คือ

1.) เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม.

2.) เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.

3.) เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 70 มคก./ลบ.ม.

4.) เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 70 มคก./ลบ.ม.

5.) เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.

6.) เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.

7.) เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 68 มคก./ลบ.ม.

8.) เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.

9.) เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.

10.) เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.

11.) เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 65 มคก./ลบ.ม.

12.) เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 65 มคก./ลบ.ม.

13.) เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.

14.) เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.

15.) เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.

16.) เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.

17.) เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.

18.) เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.

19.) เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.

20.) เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.

21.) สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.

22.) เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.

23.) เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.

24.) สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.

25.) เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

26.) เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

27.) เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

28.) สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

29.) เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.

30.) เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.

31.) เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.

32.) สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.

33.) เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.

34.) เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.

35.) เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.

36.) เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

37.) เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

38.) เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

39.) เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

40.) เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.

อำนาจละมุน! วธ.ปลุกพลัง 'Soft Power ไทย' โกยรายได้ ภูมิใจในความเป็นชาติ ชูวัฒนธรรม สร้างภาพลักษณ์ประเทศ

(กรุงเทพฯ) 'Soft Power' หรือ 'อำนาจละมุน' เป็นแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยใช้ความสามารถในการชักจูงใจ ทำให้ผู้อื่นมีความพึงพอใจหรือเต็มใจเปลี่ยนพฤติกรรม ยอมรับ คล้อยตามสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้อำนาจ ซึ่ง ณ วันนี้ เกือบทุกประเทศทั่วโลก ได้นำแนวคิด Soft Power มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้อย่างมหาศาล

(24 มกราคม 2566) สำหรับประเทศไทยมีการใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้าง Soft Power โดยรัฐบาลมีนโยบายผลักดัน Soft Power ความเป็นไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ 5 F ได้แก่ อาหาร (Food), ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film), ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion), มวยไทย (Fighting) และเทศกาลประเพณี (Festival) สู่ระดับโลก เพื่อช่วยสร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ

โดยแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศด้วย Soft Power มี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รมว.วัฒนธรรม เป็นรองประธาน และปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นกรรมการ รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสาขา ในการกำกับนโยบาย กำหนดเป้าหมายและวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา Soft Power เพื่อส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไปสู่นานาประเทศ

พร้อมกันนี้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรม การขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการในมิติทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคม ยกระดับสถานะของงานวัฒนธรรม สร้างรายได้และคุณค่าทางสังคม สร้างภาพลักษณ์และความร่วมมือ ของผู้คนในประชาคมโลกบนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม เล่าว่า คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมจะจัดทำแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (พ.ศ.2566-2570) ได้แก่ การกำหนดจุดยืนด้าน Soft Power ของประเทศไทย การสังเคราะห์แบรนด์ประเทศไทย และการกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ บนฐานข้อมูลเชิงสังคมและเศรษฐกิจที่จำเป็น อาทิ การถอดรหัสอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และการเฟ้นหาทุนทางวัฒนธรรมใหม่ ๆ การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน Soft Power อย่างยั่งยืน การจัดทำนโยบายและมาตรการใหม่ ๆ ที่ยกระดับ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคศิลปวัฒนธรรมของไทยในระดับสากล การจัดทำและพัฒนาสถิติ ดัชนี ตัวชี้วัดด้านวัฒนธรรม ทั้งในมิติสังคมและเศรษฐกิจให้มีมาตรฐาน กำกับ ติดตาม และประเมินประสิทธิภาพของการนำแผนและนโยบายไปปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน Soft Power ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และแผนที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดพิธีจุดเทียนเปิดงานเทศกาลตรุษจีน (ชิวสี่) ประจำปี 2566 ณ ศาลเจ้าไต้ฮงกง สวดชัยมงคลคาถา เฮง เฮง เฮง ตลอดปีกระต่ายทอง

วันพุธที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 09.00 น. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย คณะกรรมการ และผู้บริหารมูลนิธิฯ ร่วมในพิธีจุดเทียนเปิดงานเทศกาลตรุษจีน ประจำปี 2566 ในวันชิวสี่ หรือวันที่สี่ของเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นวันที่ประกอบพิธีอัญเชิญ (รับ) เทพเจ้าลงจากสวรรค์ และเริ่มประกอบพิธีสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา (พะเก่ง) สะเดาะเคราะห์ แก้ปีชง เสริมโชคลาภ เสริมดวงชะตา โดยคณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกาย ณ ศาลเจ้าไต้ฮงกง มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ

และในวันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566 เวลา 23.00 น. มูลนิธิฯ กำหนดจัดพิธีเวียนธูปศักดิ์สิทธิ์รอบนอกศาลเจ้าไต้ฮงกง เพื่อตั้งจิตอธิษฐานเทพยดาฟ้าดิน (เจ้าแห่งสวรรค์) และหลวงปู่ไต้ฮง ช่วยดลบันดาลให้ศิษยานุศิษย์และสาธุชนประสบโชคดีตลอดปีใหม่ พร้อมกับสรรเสริญและขอพรจากเทพเจ้า ให้ปวงชนอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัย เฮง ๆ ตลอดปีเถาะ

เทศกาลตรุษจีน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-30 มกราคม 2566 โดยขอเชิญชวนศิษยานุศิษย์ และสาธุชนทุกท่าน “สักการะหลวงปู่ไต้ฮง” ขอพรเนื่องในเทศกาลตรุษจีนเพื่อความเป็นสิริมงคลต้อนรับปีใหม่

ลงชื่อสวดชัยมงคลคาถา หรือ “พะเก่ง” เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขอให้ครอบครัวมีสุข เสริมโชคลาภ เสริมดวงชะตา เสริมความมั่นคงสถาพร ตลอดปี พร้อมรับประทาน "สาคูสิริมงคล" เพื่อความกลมเกลียวและอยู่เย็นเป็นสุข อัญเชิญ "ฮู้" (ยันต์) ของหลวงปู่ไต้ฮง ติดหน้าบ้าน หรือพกติดตัวเพื่อคุ้มครอง "เคาะระฆังทอง" ให้ก้องกังวานเพื่อให้ชีวิตสดใส การงานรุ่งเรืองระบือไกล และร่วม "พิธีเวียนธูปศักดิ์สิทธิ์" รอบนอกศาลเจ้าไต้ฮงกง ขอพรเทพยดาฟ้าดินเนื่องในวันประสูติ (ทีกงแซ) ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 29 มกราคม 2566 ขออำนาจฟ้าดินเป็นที่พึ่ง ขอให้หลวงปู่ไต้ฮง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ  ช่วยดลบันดาลให้ประสบโชคดีตลอดปีใหม่ (โดยในวันที่ 21 และ 29 มกราคม 2566 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เปิดบริการโต้รุ่ง)

ผอ.เขตปทุมวัน กำชับ จนท. กวนขันศาลพระพรหมราชประสงค์ หลังพบคลิปร้องเรียนชุดพวงมาลัยราคาแพง

วันที่ 31 มกราคม 2566 นางสาวสุขวิชญาณ์ นสมทรง ผอ.เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ทำการชี้แจง กรณีมีคลิปนักท่องเที่ยวซื้อพวงมาลัยจัดชุดไหว้ ที่ศาลพระพรหมราคาสูงว่า ได้จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจสอบจุดผ่อนผันบริเวณศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์แล้ว พบผู้ค้าฝ่าฝืนทำการค้าในที่สาธารณะ 3 ราย จึงเปรียบเทียบปรับฐานความผิดจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะ ตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาดฯ พ.ศ. 2535

ขณะเดียวกัน ได้กำชับผู้ค้าปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการทำการค้าอย่างถูกต้อง เน้นย้ำให้รักษาความสะอาดบริเวณ พื้นที่ทำการค้า ไม่ข่มขู่ รีดไถ หรือสร้างความเดือดร้อนแก่นักท่องเที่ยว พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ชุดสายตรวจเทศกิจลงพื้นที่ดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อความถูกต้องเรียบร้อย เป็นระเบียบ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีแก่การท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.ch-newsthailand.com/49266/

เช็กด่วน!! เช้านี้กรุงเทพฯ อ่วมหนัก ค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งเกินมาตรฐาน 70 พื้นที่

อัปเดตเช้านี้ ค่าฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ พุ่งเกินค่ามาตรฐาน 70 พื้นที่ คุณภาพอากาศส่วนใหญ่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ แนะประชาชนงดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM 2.5 ณ เวลา 07.00 น. พบว่า ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 72.5 มคก./ลบ.ม. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ 57-97 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.)

โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 70 พื้นที่ คือ

1.) เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 97 มคก./ลบ.ม.

2.) เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 95 มคก./ลบ.ม.

3.) เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 91 มคก./ลบ.ม.

4.) เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม.

5.) สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.

6.) เขตบางบอน ใกล้ตลาดสุขสวัสดี : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.

7.) เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.

8.) เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม.

9.) เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม.

10.) เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม.

11.) เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.

12.) เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.

13.) เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.

14) .เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.

15.) เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม.

16.) เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม.

17.) เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 80 มคก./ลบ.ม.

18.) เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม.

19.) เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม.

20.) เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.

21.) เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.

22.) สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.

23.) เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 77 มคก./ลบ.ม.

24.) เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 77 มคก./ลบ.ม.

25.) เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 77 มคก./ลบ.ม.

26.) เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.

27.) เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.

28.) เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.

29.) เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.

30.) สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Klang Time Thailand
Take Me Top