Friday, 26 April 2024
Klang Time Team

20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำรัฐประหารซ้ำ ล้มรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร

20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและหัวหน้า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 เป็นการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยผู้ที่นำการรัฐประหาร คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและหัวหน้า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

เหตุเนื่องจากการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่นำโดย พล.ร.อ.สงัด ได้ทำการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2519 เนื่องจากในเหตุการณ์ 6 ตุลา และแต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรัฐบาลนายธานินทร์มีภารกิจสำคัญที่จะต้องกระทำคือ การปฏิรูปการเมืองภายในระยะเวลา 12 ปี ซึ่งทางคณะปฏิรูปฯเห็นว่าล่าช้าเกินไป ประกอบกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบดีด้วย ดังนั้นจึงกระทำการรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการ รัฐประหารตัวเอง เพื่อกระชับอำนาจก็ว่าได้

ผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยา รับมอบถุงยังชีพจากกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อสนับสนุนในการช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

วันที่ 19 ตุลาคม 2565 ที่หน้ามุกศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับมอบถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด จากกลุ่มเซ็นทรัล ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอยุธยา และ Centrality จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำโดย คุณสมกมล จิราธิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มเซ็นทรัล คุณธนภัทร วงษ์ประเสริฐ ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้าเซ็นทรัล อยุธยา ทีม Centrality จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (CPN, RBS, TWD, TOPs) เพื่อสนับสนุนในการช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยในครั้งนี้ โดยมีนายประพันธ์ ตรีบุบผา ปลัดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ ร่วมรับมอบและเป็นสักขีพยาน

จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง กลุ่มเซ็นทรัล ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอยุธยา และ Centrality จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความห่วงใยและได้ส่งกำลังใจให้พี่น้องชาวพระนครศรีอยุธยา โดยสนับสนุนถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด 

กลุ่ม ปตท. มอบบัตรเติมน้ำมัน 200,000 บาท สนับสนุน กทม. ทำงานบรรเทาเหตุน้ำท่วม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้มอบบัตรเติมน้ำมันมูลค่า 200,000 บาท ในนามกลุ่ม ปตท. แก่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กลางขวา) เพื่อสนับสนุนการทำงานของกรุงเทพมหานครในการช่วยเหลือเหตุอุทกภัย และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต กทม.

โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวด้วยว่า ปตท. ถือเป็นส่วนสำคัญของเมือง ทั้งในเรื่องการสร้างงานและเศรษฐกิจ ต้องขอขอบคุณทาง ปตท. เป็นอย่างมากที่ช่วย กทม. มาตลอด และหวังว่าจะร่วมมือกันต่อไป

พร้อมกันนี้ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ยังได้กล่าวถึงโครงการ Saturday School Bangkok ซึ่งขณะนี้เปิดรับคุณครูอาสา (Volunteer Teacher) พร้อมเชิญชวนพนักงาน ปตท. มาช่วยสอนภาษาอังกฤษ สอนเรื่องพลังงาน เรื่องแยกขยะ ฯลฯ เพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจปัญหาสังคม เข้าถึงเด็กๆ และได้ร่วมแบ่งปันโอกาสให้น้อง ๆ อีกด้วย

เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหลายพื้นที่ยังจมบาดาล

เมื่อวันที่ (18 ตุลาคม 2565) ที่วัดรางบัวทอง ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานเปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พื้นที่ตำบลบ้านกุ่ม และบริเวณใกล้เคียง โดยมีนายปรีชา ทองคำ นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 17 ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุพรรณบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิธี

นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่าสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่สุพรรณบุรีขณะนี้ทางตอนเหนือเริ่มคลี่คลายส่วนทางตอนใต้ของสุพรรณบุรีระดับน้ำยังเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีน้ำค้างอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาปริมาณมาก เขื่อนเจ้าพระยาระบายลงเข้าแม่น้ำท่าจีนผ่านทางประตูพลเทพประมาณ 170 ลบ.ม.ต่อวินาที จาก 180 ลบ.ม.ต่อวินาที ที่ประตูโพธิ์พระยาก็ลดลงเล็กน้อย จากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากปริมาณน้ำลดลง และน้ำในทุ่งของพื้นที่สุพรรณก็ไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีน และน้ำทั้งหมดก็จะไหลงทุ่งรับน้ำโพธิ์พระยาเขต อ.บางปลาม้า และ อ.สองพี่น้อง 

ทำให้ อ.บางปลาม้า และสองพี่น้อง ยังคงมีระดับน้ำที่ทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอีกระยะหนึ่งพอน้ำตอนเหนือลดลงน้ำตอนใต้ก็จะลดลงนอกจากน้ำทะเลจะหนุนขึ้นบางวันตนคิดว่าสถานการณ์น้ำท่วมตอนนี้อยู่ในช่วงท้าย ๆ แล้ว อย่างไรก็ตามทุ่งโพธิ์พระยา เขต อ.บางปลาม้า และสองพี่น้อง เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำทำให้น้ำแห้งช้าพี่น้องประชาชนก็ต้องทนอยู่กับน้ำอีกระยะหนึ่งอาจจะประมาณ 1 เดือน

ปีที่แล้วพื้นที่แห้งสุดท้ายประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ซึ่งถือว่าล่าช้ากว่าปกติ ปีนี้ได้คุยกับชลประทาน ปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าอยากให้น้ำแห้งช่วงเดือนมกราคม เพราะวิถีชีวิตของชาวนา อ.บางปลาม้า และสองพี่น้องจะเริ่มทำนารอบแรกเดือนมกราคม ทำไป 4 เดือนก็เก็บเกี่ยว และทำนารอบ 2 คือเดือนพฤษภาคม เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวทันน้ำที่จะมาซึ่งเป็นแนวทางของจังหวัดที่เตรียมไว้

วันนี้ได้มาเปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ถึงแม้ว่าระดับน้ำในภาพรวมทั้งประเทศจะน้อยลง แต่ของเราเป็นที่ราบลุ่มทราบว่าน้ำยังอยู่กับเราอีกระยะหนึ่ง พื้นที่ตำบลบ้านกุ่ม และพื้นที่ใกล้เคียงจะมีน้ำท่วมเยอะพี่น้องประชาชนหลายหลังคาเรือนที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม บางท่านมีบ้านญาติพี่น้อง บางท่านบ้านเรือนอยู่ห่างไกล แต่ไม่มีที่อยู่ เราจึงจัดตั้งศูนย์แห่งนี้ขึ้นที่วัดรางบัวทอง ตำบลบ้านกุ่ม พื้นที่ 4 ไร่กว่า มีอาคารที่พักสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้พี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนได้เข้ามาพักอาศัยเป็นการชั่วคราว

19 ตุลาคม ‘วันเทคโนโลยีของไทย’ เทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย หลังทรงพระกรุณาบัญชาการปฏิบัติการทำฝนสาธิตด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515

นอกจากจะทรงเป็นนักปกครองแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงมีอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้กำหนดให้ วันที่ 19 ตุลาคม เป็นวันเทคโนโลยีของไทย 

สาเหตุที่กำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคม เป็นวันเทคโนโลยีของไทย เนื่องจาก เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 หรือเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ด้วยพระปรีชาสามารถในการค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการทำฝนหวังผล ให้ตกในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่กำลังประสบภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับสภาวะแห้งแล้งในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ในขณะนั้น ขอส่งนักวิทยาศาสตร์มาสังเกตการณ์และขอรับถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญใน การปฏิบัติการทำฝนหวังผลในประเทศไทย 

ในการนี้ทรงพระกรุณารับบัญชาการปฏิบัติการสาธิตด้วยพระองค์เอง ทรงกำหนดให้อ่างเก็บน้ำของเขื่อนแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีพื้นที่ผิวน้ำเพียง 46.5 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,162.5 ไร่ เป็นพื้นที่เป้าหมายหวังผลในการปฏิบัติการทำฝนสาธิตครั้งนี้ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยปฏิบัติการค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการทำฝนหวังผลที่ผ่านมา ทรงปฏิบัติการฯสาธิต ในวันที่ 19ตุลาคม 2515 ณ ศูนย์บัญชาการฯ สันเขื่อนแก่งกระจาน ทรงสามารถบังคับหรือชักนำฝนให้ตกลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจานอย่างแม่นยำภายในเวลาประมาณ 5 ชั่วโมงนับจากเริ่มปฏิบัติการ เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาและเป็นที่น่าอัศจรรย์แก่นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ และข้าราชบริพารที่เป็นข้าราชการและข้าราชบริพารระดับสูงที่เฝ้าฯ สังเกตการณ์อยู่ ณ ที่นั้น ต่างประทับใจในพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถ  

การสาธิตฝนครั้งนั้น ถือเป็นต้นกำเนิดเทคโนโลยีฝนหลวงที่พัฒนาเป็นการทำฝนมาถึงปัจจุบัน และเพื่อจารึกไว้เป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543  คณะรัฐบาลจึงมีมติให้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็น 'พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย' และกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น 'วันเทคโนโลยีของไทย' เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด โดยได้ทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนเป็นการแสดงเทคโนโลยีที่คิดค้นประดิษฐ์ และพัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของไทย

กรมชลประทานเร่งซ่อมถนนคันคลอง ปตร.เจ้าเจ็ด พระนครศรีอยุธยา หลังถูกน้ำกัดเซาะ

กรมชลประทาน ระดมเครื่องจักรเครื่องมือ เร่งซ่อมถนนคันคลองใกล้บริเวณประตูระบายน้ำเจ้าเจ็ด อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา หลังถูกน้ำกัดเซาะจนถนนทรุด เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมา

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมา (17 ต.ค. 65) ถนนคันคลองชลประทานใกล้บริเวณประตูระบายน้ำเจ้าเจ็ด ซึ่งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ต.รางจรเข้ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ถูกน้ำกัดเซาะจนถนนทรุดตัวกว้างประมาณ 15 เมตร ส่งผลให้ปริมาณน้ำจากแม่น้ำน้อยไหลบ่าเข้าสู่คลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน ก่อนจะไหลลงสู่พื้นที่ท้ายน้ำ ทำให้ อ.เสนา อ.บางซ้าย และ อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบ

รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เชิญถุงพระราชทาน มอบผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์

ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายวลฺลภ ยุติธรรมดำรง รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เชิญถุงพระราชทานมามอบแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยจากพายุโนรู ในพื้นที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี  จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 2,939 ชุด โดยมี นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวรายงานสรุปสถานการณ์อุทกภัย พร้อมด้วย นายอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ นายอำเภอศรีเทพ นายอำเภอวิเชียรบุรี หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมพิธี 

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงห่วงใยและเมตตาต่อพสกนิกร ที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พระราชทานถุงยังชีพ มามอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 2,939 ชุด โดยภายหลังจากมอบถุงพระราชทาน นายวลฺลภ ยุติธรรมดำรง รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นำถุงยังชีพพระราชทานไปมอบให้แก่ผู้พิการ ผู้ป่วย ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 3 ราย ประชาชนจังหวัดเพชรบูรณ์ รู้สึกซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณอันล้นพ้น อย่างหาที่สุดมิได้ของ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงห่วงใยและเมตตา ต่อพสกนิกรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ในครั้งนี้

ทั้งนี้อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 16 ตำบล 121 หมู่บ้าน ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 8 ชุมชน บ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎรที่ได้รับความเสียหาย 930 ครอบครัว อำเภอศรีเทพ มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 7 ตำบล 103 หมู่บ้าน บ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎรที่ได้รับความเสียหาย 644 ครอบครัว อำเภอวิเชียรบุรี มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 14 ตำบล 192 หมู่บ้าน บ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎรที่ได้รับความเสียหาย 1,365 ครอบครัว จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร่วมกับ ส่วนราชการ หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรการกุศล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนจิตอาสา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว ปัจจุบันพื้นที่ประสบอุทกภัยส่วนใหญ่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว และได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ในพื้นที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป


มนสิชา  คล้ายแก้ว/สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์

'ม้งบ้านน้ำแจ้งฯ' เปิดหมู่บ้านรับนักท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว สัมผัสชีวิตชนเผ่า-ชมหมอกยามเช้า-นอนชมดาว 360°

นายอำเภอนครไทยหนุนพี่น้องชาวม้งบ้านน้ำแจ้งพัฒนาเดินหน้าเปิดหมู่บ้านรับนักท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชนเผ่า-เล่นน้ำตก ยลหินหัวงูต้นน้ำแควน้อย-นอนชมดาว ดูหมอกยามเช้า 360 องศาฯ เป็นปีแรกหนาวนี้

นายสมศักดิ์ เกี้ยวเกิด นายอำเภอนครไทย, นายมนตรี วงศ์วิริยะชาติ ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมกับชาวบ้านน้ำแจ้งพัฒนา หมู่ 15 ต.นาบัว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ต่างช่วยกันวางแผนเตรียมการเปิดหมู่บ้าน ซึ่งเป็นชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองพิษณุโลกกว่า 150 กิโลเมตร เพื่อรอรับนักท่องเที่ยวไว้ให้เข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของชนเผ่า และสัมผัสกับธรรมชาติไฮซีซันนี้อย่างเต็มที่

แนะนำเส้นทาง!! พิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

เมื่อวันที่ 12 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น. ในฐานะโฆษก บช.น. และ พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ รอง ผบช.น.ในฐานะรองโฆษก บช.น.ประชาสัมพันธ์ข่าวสารกรณีกำหนดการพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ในวันที่ 13 ต.ค. 2565 จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้าร่วมพิธีที่สำคัญนี้ ทั้งนี้ บช.น. ได้เตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร บริเวณโดยรอบพื้นที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ และพื้นที่ต่อเนื่อง

สำหรับประชาชนที่เดินทางมาร่วมพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

จุดจอดรถยนต์ และมีรถ Shuttle bus รับ-ส่ง ประชาชน จำนวน 3 จุด ได้แก่ สโมสรทหารบก สามารถจอดรถยนต์ได้ 200 คัน, กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ (พม.) สามารถจอดรถยนต์ได้ 320 คัน, สนามศุภชลาศัย สามารถจอดรถยนต์ได้ 200 คัน
จุดจอดรถ Shuttle bus รับ-ส่ง จำนวน 4 เส้นทาง ตั้งแต่ 08.00 น. เป็นต้นไป ได้แก่ สโมสรกองทัพบก-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-กรมทางหลวง, สนามศุภชลาศัย-กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ-กรมทางหลวง, วงเวียนใหญ่-โรงเรียนราชวินิตมัธยม, สนามหลวง-โรงเรียนราชวินิตมัธยม

จุดตรวจ ATK จำนวน 2 จุด ได้แก่ โรงเรียนราชวินิตมัธยม, กรมทางหลวง

น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ นายกฯ เชิญชวนเฝ้ารับเสด็จ 'ในหลวง-ราชินี' ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 9

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์เฟซบุ๊ก 'ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut-Chan-o-cha' ระบุว่า...

พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทุกท่านครับ

เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2565 เวลา 17.00 นาฬิกา ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร นั้น ผมขอเชิญชวนประชาชนทุกหมู่เหล่า ร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ โดยพร้อมเพรียงกัน


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Klang Time Thailand
Take Me Top